ออกกําลังกายบำรุงหัวใจ

การออกกำลังกาย เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่เหมาะสำหรับคนรักสุขภาพ อยากให้ร่างกายแข็งแรง ลดความเครียด ห่างไกลโรคร้าย โดยเป็นกิจกรรมที่ได้ผลจริง เพราะการเผาผลาญพลังงานจะเหมาะกับคนที่กำลังควบคุมน้ำหนัก หรือ ลดความอ้วนด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายยังมีอีกหลายรูปแบบ หลายชนิด ที่จะส่งผลตรงจุดโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายที่เน้นไปทางการสร้างกล้ามเนื้อแขน หรือ การออกกำลังกายแบบ คาร์ดิโอ ลดหน้าท้อง ลดน้ำหนัก หรือ แม้กระทั่งการเล่นโยคะ ที่เป็นการฝึกจิตใจ สมาธิ ร่างกาย ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายยังช่วยบำรุงภายนอกสู่ภายในด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ เกี่ยวกับระบบการทำงานของหัวใจ ซึ่งแน่นอนว่าใครที่มี ระบบหัวใจที่อ่อนแอ ก็สามารถออกกำลังกายได้เช่นเดียวกัน แน่นอนเลยว่าในวันนี้พวกเราได้รวบรวมเรื่องราวของโรคหัวใจ พร้อมทั้ง การ ออกกําลังกายบำรุงหัวใจ สามารถได้ประโยชน์ และ ห่างไกลโรคร้ายได้เช่นเดียวกันนั่นเอง ซึ่งข้อมูลสาระดี ๆ ที่น่าสนใจนี้ พวกเราได้รวบรวมเอาไว้ให้กับท่านผู้อ่านแล้ว ซึ่งรายละเอียดจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้ 


หัวใจอ่อนแอ ทำให้เสี่ยงต่อโรคร้ายใดบ้าง 

ออกกําลังกายบำรุงหัวใจ

อวัยวะที่สำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมากนั่นก็คือ “หัวใจ” ซึ่งจะทำหน้าที่สูบฉีด ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย โดยจะประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ โดยจะมี 4 ห้อง มี 2 ห้องบน กับ 2 ห้องล่าง ซึ่งจะอยู่บริเวณกลางใต้กระดูกหน้าอก ไปทางซ้ายเล็กน้อย ซึ่งความสำคัญในส่วนนี้ของหัวใจ จะทำหน้าที่พาออกซิเจน กับ สารอาหารไปยังทุกส่วนของร่างกาย โดยหัวใจซิกขวาที่รับโลหิตที่ใช้แล้วจากร่างกาย สูบฉีดไปยังปอดเพื่อที่จะรับออกซิเจน โดยโลหิตที่มีออกซิเจนสูง ก็จะไหลกลับไปยังหัวใจทางด้านซ้าย ซึ่งจะถูกสูบฉีดผ่านเส้นเลือดใหญ่ ไปยังทุกส่วนของร่างกาย 

สำหรับ “หัวใจ” จะเริ่มทำงานตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดา โดยจะมีกล้ามเนื้อแบบพิเศษกว่ากล้ามเนื้อชนิดอื่น ๆ เพราะว่าสามารถปล่อยสัญญาณไฟฟ้าได้เอง ซึ้งไฟฟ้าที่เกิดขึ้น จะเริ่มต้นจาก ห้องขวาบน แล้วจะกระจายไปตามเซลล์นำไฟฟ้าหัวใจ ไปสูงห้องบนซ้าย ลงไปห้องข้างล่าง เมื่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ถูกกระแสไฟฟ้านี้ก็จะทำให้หดสั้นลง จะทำให้เกิดการบีบตัวของห้องหัวใจ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมา จะส่งผลให้อวัยวะนี้สำคัญมากที่สุดของร่างกาย แต่ทว่า โรคร้ายแรงเกี่ยวกับหัวใจ ก็มีหลากหลายรูปแบบเช่นกัน สำหรับบางคนก็เกิดมาด้วยภาวะที่หัวใจอ่อนแอ ไม่แข็งแรงปกติแบบคนทั่วไป ซึ่งอาจจะเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงดังต่อไปนี้ 


โรคหัวใจอ่อนกำลัง หรือ ภาวะหัวใจล้มเหลว

สำหรับในภาวะนี้ ไม่ได้หมายความว่าหัวใจจะหยุดทำงาน แต่เป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถทำงานได้อย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งหัวใจจะอ่อนแอ อ่อนกำลังลง ทำให้สิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย แต่ทว่าโรคนี้ยังมีวิธีต่าง ๆ ที่จะช่วยกลับมาให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้นอยู่เหมือนกัน 

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

ในช่วงที่เกิดภาวะหัวใจอ่อนแอ ก็สามารถทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้เช่นกัน ซึ่งโรคนี้ยังพบบ่อยในวัยผู้ใหญ่ด้วย สาเหตุ กับ ความเสี่ยงก็เกิดจาก อายุที่มากขึ้น หรือ พฤติกรรมของผู้ป่วยเช่น การสูบบุหรี่จัด เป็นต้น อีกทั้งยังเกิดจากโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่อาจจะมีภาวะนี้เข้าไปแทรกซ้อนได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง รวมไปถึงการที่คุณไม่เคยออกกำลังกาย หรือ การขยับตัวเลย ก็อาจจะทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน 

ส่วนอาการของโรคนี้ ก็จะมีความรู้สึกว่าเจ็บ แน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย จุกแน่น รอนในบริเวณทรวงอก มีอาการเหงื่อออก ใจสั่น จะเป็นลม เรื่องดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นแบบฉับพลัน หรือ รุนแรงในบางช่วย แน่นอนเลยว่า มีโอกาสที่จะเสียชีวิตสูงมาก หากไม่ได้รับการรักษา

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สำหรับในภาวะนี้จะเกิดจาก หัวใจเต้นเร็ว หรือ อาจจะเต้นช้ากว่าปกติ เกิดจากความผิดปกติของการกำเนิดกระแสไฟฟ้า การนำไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งจะเกิดได้ทั้ง 2 กรณีร่วมกันได้เช่นกัน สำหรับในภาวะนี้อาจจะพาไปสู่โรคอื่น ๆ เกี่ยวกับหัวใจได้อีก เช่น ลิ้นหัวใจผิดติ หรือ หลอดเลือดหัวใจตีบตันด้วย ส่วนอาการของโรคนี้คือ ใจสั่น เจ็บหน้าอก หน้ามืด อ่อนเพลีย หมดสติ หรือ หัวใจวาย อย่างไรก็ตาม ถ้าหัวใจบีบตัวได้ปกติ โอกาสเกิดหัวใจวายก็จะน้อยลงนั่นเอง แต่ทั่งหมดก็คือความเสี่ยงสำหรับ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สำหรับการรักษาของโรคนี้ จะสามารถเริ่มต้นทำได้ด้วยการ รับประทานยา ยาคลายเครียด ในกรณีที่พบความผิดปกติจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แพทย์ก็จะรักษาด้วยการให้ยา ที่ต้านการเต้นผิดปกติ สำหรับผู้ป่วยก็จะต้องหลีกเลี่ยงความเครียด วิตกกังวล ควรพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกายที่ควรมีความพอดี การดื่มเครื่องดื่มกาแฟ หรือ สูบบุหรี่ ควรที่จะงดทันทีเมื่อพบว่าตนเองเป็นโรคนี้ 

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง

ภาวะหัวใจ เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดแดงได้โดยตรง เพราะว่ามีหน้าที่นำเลือดแดงจากหัวใจ ส่งไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย โดยจะมีความยาวตั้งแต่ช่องอกจากหัวใจไปจนถึงช่องท้อง แน่นอนเลยว่าความผิดปกตินี้จะทำให้เกิดความอ่อนแอของผนังหลอดเลือด ไม่ว่าจะเกิดจากความเสื่อมตามอายุหรือความผิดปกติอื่น ๆ หรือไม่ ซึ่งจะมีผลที่ทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นเกิดการโป่งพอง สามารถแตกได้ 

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

สำหรับเรื่องนี้จะเกิดจากความผิดปกติที่พบได้ขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาตั้งแต่  3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ โดยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด จะเกิดจากการมีรูโหว่ที่ผนังกั้นภายในหัวใจ ลิ้นหัวใจตีบตัน หรือ รั่ว หลอดเลือดออกผิดจากตำแหน่งปกติ โดยโรคนี้จะสามารถวิเคราะห์ได้ตั้งแต่เด็กยังอยู่ในครรภ์ กับ การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจนั่นเอง 

โรคหัวใจรูห์มาติก

สำหรับภาวะหัวใจอ่อนแอ สามารถเกิดโรคที่อันตรายต่อเด็กในวัย 7-15 ปี อย่าง “หัวใจรูห์มาติก” ได้ เพราะว่าเด็กในช่วงวัยนี้ จะมีสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด เบตาฮีโอไลติก สเตร็ป โตคอคคัสที่ลำคอ ซึ่งจะทำให้คออักเสบ ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคนี้ แต่ถ้าหากว่าได้รับเชื้อโรคนี้ซ้ำอีก จะไปเกิดอาการอักเสบที่หัวใจ โดยเฉพาะส่วนลิ้นหัวใจ จะมีอาการปวดบวมที่ข้อ ผื่นขึ้นที่ลำตัว ในเด็กที่มีอาการหนักจะส่งผลถึงหัวใจวาย และ เสียชีวิตได้เช่นกัน


โรคหัวใจในเด็ก และวิธีการรักษา 

ในภาวะหัวใจอ่อนแอ ไม่ว่าเด็กจะเกิดมา หรือ ยังไม่ได้เกิดมาก็สามารถตรวจสอบได้ทุกช่วง ซึ่งแน่นอนเลยว่า จะมีอาการที่แสดงออกมา แต่ก็ยังมีวิธีการรักษาได้ตั้งแต่เด็ก ดังต่อไปนี้ 

อาการโรคหัวใจในเด็ก

สำหรับโรคหัวใจในเด็กนั้น จะพบอาการได้หลากหลายดังนี้

  • อาหารหายใจเร็วกว่าปกติ บางรายมีอาการคล้ายหอบหลังจากออกกำลังกาย
  • เมื่อดูดนมแล้ว เหนื่อยง่าย
  • เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • หัวใจเต้นแรง เร็วผิดปกติ
  • เป็นหวัดบ่อย 
  • น้ำหนักตัวไม่เพิ่ม เติบโตช้ากว่าปกติ 
  • มีอาการตัวเขียวแต่กำเนิด หรือ ตัวเขียวในช่วงหลัง 

วิธีการรักษา

แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ โดยมีการรักษาโดยให้ยาบำรุงหัวใจ ยาขับปัสสาวะ จะส่งผลให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น รวมทั้งลดภาวะหัวใจวายด้วย แต่สำหรับบางรายก็จำเป็นที่จะต้องใช้บอลลูนขยายตรงเลือดหรือลิ้นหัวใจที่ผิดปกติ หรือจะใช้ การรักษาโดยการจี้ด้วยไฟฟ้าในบริเวณที่ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติเช่นกัน  สำหรับการรักษาอื่น ๆ ก็จะมีการให้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจ หรือ รักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าบริเวณนั้นด้วย อย่างไรก็ตามการรักษาโรคหัวใจนั้น ไม่สามารถแก้ไขให้หายขาดได้ภายในครั้งเดียว จะต้องประคองการรักษา บรรเทาอาการ เมื่อโตขึ้นเด็กอาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติทั้งหมด


สาเหตุของโรคหัวใจ และจุดที่ควรไปพบแพทย์ 

ออกกําลังกายบำรุงหัวใจ

โรคหัวใจ จะขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจแบบนั้น ๆ ซึ่ง ในภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จะมีสาเหตุที่ไม่ชัดเจน แต่ทว่าพบจะสอดคล้องกับปัจจัยเสี่ยงมากมายต่าง ๆ โดยจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 

  • ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้ กับ สามารถปรับเปลี่ยนได้ 
  • ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ตัวอย่างเช่น อายุ เพศ หรือ ประวัติสุขภาพของคนในครอบครัว แต่สามารถชะลอโรคนี้ด้วยการควบคุมเรื่องของปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เพื่อป้องกันโรคหัวใจที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต 

สำหรับปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ 

โรคหัวใจ จะมีปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ อยู่ด้วยกันข้างต้นแล้วนั้น ก็จะเกิดได้อีกหลายกรณี ซึ่งพวกเราจะมาพูดถึงกันแบบละเอียดไปทีละข้อ แล้วคุณจะเข้าใจเลยว่าสิ่งที่ทำอยู่ หรือพฤติกรรมที่เป็นอยู่ เสี่ยงต่อโรคนี้หรือไม่นั่นเอง โดยจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 

  • อายุ 

การมีอายุมากขึ้น จะเพิ่มความเสี่ยงของหลอดเลือดแดงที่เสียหาย รวมทั้งทำให้ตีบ หรือกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงด้วย 

  • ปัจจัยทางพันธุกรรม 

สำหรับครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัว เป็นโรคหัวใจ จะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะผู้ที่มีพ่อแม่เป็นโรคนี้ ตั้งแต่อายุยังน้อย 

  • เพศ

โดยเพศชาย จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากกว่า แต่ทว่าผู้หญิง จะมีความเสี่ยงในช่วงหลังหมดประจำเดือน

  • พฤติกรรมการสูบบุหรี่จัด

อันตรายจากสารนิโคติน จะทำให้หลอดเลือดภายในร่างกาย มีสภาวะหดตัว พร้อมทั้งตัวก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ สามารถทำลายเยื้อบุชั้นในได้ จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจได้ง่ายขึ้น โดยอาการหัวใจวายจะพบได้บ่อยในผู้ที่สูบบุหรี่มากกว่า ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 

  • พฤติกรรมการกินอาหารแบบผิด 

สำหรับการรับประทานอาหารแบบผิดมาตลอด นั่นก็คือ อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เกลือ น้ำตาล รวมทั้งคอเลสเตอรอลสูง จึงทำให้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยทำให้เกิดโรคหัวใจได้นั่นเอง

  • ภาวะความดันโลหิตสูง

สำหรับใครที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ในชนิดที่แบบไม่สามารถควบคุมได้ อาจจะส่งผลให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวกับหนาขึ้น ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง 

  • ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง 

ผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะชนิดความหนาแน่นต่ำ 

  • โรคเบาหวาน โรคอ้วน 

ในส่วนนี้ขอยกมาคุยในเรื่องเดียวกัน กับโรคเบาหวาน กับโรคอ้วน ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้น 

  • ออกกำลังกายน้อยเกินไป

การออกกำลังกายที่น้อยเกินไป ส่งผลให้สุขภาพไม่ดี ความดันโลหิตสูง พร้อมทั้งเสี่ยงต่อโรคหัวใจอีกด้วย อย่างไรก็ตามควรที่จะออกกำลังกาย หรือ ขยับร่างกายบ้าง ไม่เช่นนั้นแล้วการเผาผลาญของร่างกายจะทำงานไม่ปกติ และยังเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงอื่น ๆ ด้วย 

  • ความเครียด

ปัญหาทางด้านจิตใจ ส่งผลต่อสุขภาพโดยตรงเช่นเดียวกัน ดังนั้นแล้ว สารฮอร์โมนที่มากระตุ้นให้หัวใจ กับ หลอดเลือด โดยปัญหาดังกล่าวจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจมากขึ้น


ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจ

โรคหัวใจ เป็นโรคที่ร้ายแรงต่อสุขภาพร่างกายเป็นอย่างมาก แต่ทว่าสามารถที่จะรักษา คู่กับการรับประทานยา พร้อมทั้งลดความเสี่ยงที่จะทำให้หัวใจทำงานหนัก ซึ่งจะสามารถประคับประคองไปได้จนถึงการผ่าตัดได้ แต่ทว่าเรื่องที่ต้องระวังเป็นอย่างมากนั่นก็คือ ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจ ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยจะส่งผลอันตรายต่อชีวิตซึ่งจะมีรายละเอียดของภาวะที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ที่อาจจะส่งผลให้เสียชีวิต ดังต่อไปนี้

ภาวะหัวใจล้มเหลว

สำหรับภาวะแทรกซ้อนนี้จะพบได้บ่อยที่สุดของโรคหัวใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างเพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกาย สำหรับในภาวะหัวใจล้มเหลวนี้ อาจจะเป็นผลมาจากโรคหัวใจหลายประเภท จะไปรวมกับความบกพร่องของหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง โรคลิ้นหัวใจ รวมทั้งการติดเชื้อที่หัวใจ 

หัวใจวาย 

ภาวะแทรกซ้อนนี้จะเกิดจากภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันกะทันหัน ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย ระบบการทำงานผิดปกติ จนร้ายแรงที่สุดคือหัวใจหยุดเต้นจนเสียชีวิต 

ภาวะหลอดเลือดแดงโป่งพอง

สำหรับภาวะนี้ จะเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ในร่างกาย โดยถ้าหากว่าหลอดเลือดโป่งพองแตก จะทำให้เกิดภาวะเลือดออกภายในเป็นอย่างมาก ทำให้ส่งผลอันตรายถึงชีวิต 

ภาวะโรคหลอดเลือดสมอง

สำหรับในภาวะนี้ จะเป็นอาการเมื่อหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองของร่างกายแคบลง หรือ ถูกปิดกั้นทำให้เลือดเข้าสู่สมองไม่เพียงพอ โดยจะส่งผลให้สมองนั้นขาดเลือด 

ภาวะโรคหลอดเลือดส่วนปลาย

สำหรับในภาวะนี้จะเกิดอาการปวดแขน หรือ ขา เมื่อออกแรงมาก ด้วยเหตุที่เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงได้อย่างเพียงพอ โดยจะมีการอุดตัน จะทำให้เกิดการตายของเนื้อเยื่อส่วนปลายได้ด้วยเช่นกัน 

ภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน

สำหรับในภาวะนี้จะร้ายแรงมาก เพราะจะส่งผลถึงชีวิต เพราะว่าการสูญเสียการทำงานของหัวใจ การหายใจ การหมดสติอย่างกะทันหันแบบไม่คาดคิด จะเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะร้ายแรง ภาวะนี้จะทำให้หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน เป็นภาวะฉุกเฉิน ถ้าหากว่าไม่ได้รับการรักษาในทันที จะส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจตาย ส่งผลไปสู่การเสียชีวิตนั่นเอง 


การป้องกันโรคหัวใจ 

โรคหัวใจ จะสามารถป้องกันได้ แต่ทว่าจะต้องขึ้นอยู่กับชนิดของโรคเช่นเดียวกัน สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจ ถึงแม้ว่าจะไม่มีสาเหตุที่เฉพาะเจาะจงแบบชัดเจน แต่ก็จะมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง เมื่อเราสามารปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง หรือ ควบคุมได้ดี ก็จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ ตัวอย่างเช่น หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ควบคุมความดันโลหิตไม่ให้สูงเกินค่ามาตรฐาน รวมทั้ง ควบคุมคอเลสเตอรอล ด้วย อีกทั้งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งทำอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน หรือ อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง เป็นอย่างต่ำ 

แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตในเรื่องของการรับประทานอาหาร ก็มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้เกิดโรคหัวใจ หรือ ภาวะที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดหัวใจได้มากมาย ที่สำคัญจะต้องควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐานด้วย และสุดท้าย การทำจิตใจให้ไม่เครียด มองโลกในแง่บวกอยู่เสมอ ซึ่งจะทำให้ห่างไกลโรคภัยอื่น ๆ ด้วย 

ถ้าหากว่าคุณเองมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจถี่ หรือ เหนื่อยง่าย เป็นลม จะมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นแล้ว เมื่อพบอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรค ซึ่งถ้าหากว่าครอบครัวของคุณมีประวัติเป็นโรคหัวใจ นี่คือเรื่องสำคัญที่จะต้องเข้ารับการรักษาเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ 


วิธีการตรวจหาโรคหัวใจ

สิ่งที่ทำให้คุณรู้เกี่ยวกับการเป็นโรคหัวใจหรือไม่ จะต้องตรวจสอบหา วินิจฉัยโรค ซึ่งแพทย์จะการสอบถามประวัติของคนไข้ รวมทั้ง ครอบครัวอย่างละเอียด อีกทั้งยังมีการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด รวมทั้งเอกซเรย์ทรวงอกแล้ว ก็ยังมีการทดสอบพิเศษทางหัวใจต่าง ๆ ที่จะช่วยในการวินิจฉัย ซึ่งมีวิธีการตรวจดังต่อไปนี้ 

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG หรือ EKG) 
  • เป็นการทดสอบคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ที่รวดเร็ว ไม่เจ็บปวด
  • เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง

สำหรับเครื่องนี้จะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถพกพาได้ สามารถบันทึกจังหวะการเต้นของหัวใจได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 24 ถึง 72 ชั่วโมงในการตรวจสอบ โดยเครื่องนี้จะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Ambulatory ECG Monitoring หรือ Holter ECG ใช้เพื่อตรวจจับปัญหาจังหวะการเต้นของหัวใจที่ไม่พบในระหว่างการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ 

Stress Test

สำหรับวิธีนี้ จะเป็นการทดสอบการเพิ่มอัตราการเต้น การบีบตัวของหัวใจ ด้วยการออกกำลังกาย หรือยา รวมทั้งวัดการตอบสนองทั้งชีพจร ความดันโลหิต รวมทั้งความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ บางรายวัดความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจโดยการตรวจ Echocardiogram ที่จะช่วยในการตรวจโรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วย

การสวนหัวใจ

วิธีนี้จะเป็นการใส่ท่อสั้น ๆ เข้าไปในหลอดเลือดดำ หรือ หลอดเลือดแดง ในบริเวณขา หรือ แขน เพื่อตรวจวัดภายในห้องหัวใจโดยตรง ดังนั้นแล้ว การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ หรือ ผนังกั้นหัวใจผิดปกติ จะใช้วิธีนี้เห็นผลได้ดีกว่า 

สแกน CT Scan 

สำหรับวิธีนี้จะเป็นการสแกนเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หัวใจ หรือที่เรียกกันว่า CT Scan จะเป็นการตรวจสอบภาพโดยละเอียด เพื่อวัดคะแนนหินปูนของหลอดเลือดหัวใจ รวมทั้งการฉีดสารทึบรังสีด้วย ซึ่งจะได้ภาพของหลอดเลือดหัวใจ หรือ หลอดเลือดแดงใหญ่ หลอดเลือดปอด เพื่อนำมาวินิจฉัยโรคหลอดเลือดต่าง ๆ รวมทั้งความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ กับ ผนังหัวใจด้วยเช่นกัน 


วิธีที่ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น 

หัวใจ คือ ระบบอวัยวะที่สำคัญต่อร่างกายเป็นอย่าง เป็นระบบที่ส่งโลหิตเข้าไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น อวัยวะอื่น ๆ สมอง แน่นอนเลยว่า ใครที่มีภาวะหัวใจที่อ่อนแอ หรือ เข้าข่ายกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจ จะต้องมองหาวิธีที่จะทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้นนั่นเอง แน่นอนเลยว่าพวกเราก็ไม่พลาดที่จะมาแนะนำข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับการรักษาโรคหัวใจ ที่จะประกอบไปด้วย วิธีการทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น และ วิธีการรักษาแบบหัตถการหลอดเลือด หรือ การผ่าตัดนั่นเอง ซึ่งจะมีรายละเอียดสำคัญดังต่อไปนี้ 

การรักษาด้วยยา 

สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ จะเริ่มต้นจากการรักษาด้วยยาชนิดรับประทาน ซึ่งแพทย์เฉพาะทางของโรคนี้ จะจ่ายยาตามอาการ ลักษณะของโรคหัวใจ ซึ่งแน่นอนเลยว่าการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะทำให้ภาวะหัวใจอ่อนแอ ทำงานได้ดีขึ้น เป็นปกติมากขึ้น 

การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต

สำหรับวิธีนี้จะเป็นเรื่องที่คุณเองจะต้องปรับกันอย่างเร่งด่วน เมื่อรู้ตัวเองว่าเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ เริ่มตั้งแต่เรื่องการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง โซเดียมสูง พร้อมกับไขมันอิ่มตัวสูง จะต้องรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวอย่าง โอเมก้า 3 แทน การหันมารับประทานผัก ผลไม้ เพื่อเพิ่มวิตามิน แล้วยังช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ ช่วยปรับสมดุลระบบน้ำเหลือง ช่วยปรับปรุงระบบต่าง ๆ ในร่างกาย แน่นอนเลยว่าจะส่งผลดีต่อสุขภาพโดยตรง ที่สำคัญการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแบบไม่หนักมาก โดยกำหนดสัปดาห์ละ 300 นาที หรือ น้อยที่สุดสัก 30 นาทีต่อวันจะเป็นเรื่องที่ดีมาก และสุดท้ายใครที่สูบบุหรี่ หรือ ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ จะต้องลดไปจนถึงขั้น งดเด็ดขาดด้วย เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น

การรักษาแบบ หัตถการ หรือ ผ่าตัด 

วิธีที่จะทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น นอกจากการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง หรือ การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตแล้วนั้น การรักษาที่จะทำให้ดีขึ้นอีกเช่นกันก็คือ การผ่าตัด ซึ่งจะมีตัวอย่างการผ่าตัดดังต่อไปนี้ 

  • ผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน และ ขดลวด
  • การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจโดยใช้หลอดเลือดของผู้ป่วยเอง 
  • ขยายลิ้นหัวใจที่ตีบด้วยบอลลูน
  • การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ
  • การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดถาวร
  • การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม
  • การใส่ลิ้นหัวใจเทียมแทนลิ้นหัวใจที่ตีบจากการเสื่อมสภาพ 
  • การปิดกั้นผนังกั้นหัวใจที่รั่วด้วยอุปกรณ์พิเศษผ่านทางหลอดเลือด
  • การจี้หัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูง

การรักษาด้วยการกายภาพบำบัด 

วิธีนี้เรียกว่า การรักษาด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู และ กายภาพบำบัด โดยจะช่วยให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงขึ้น ซึ่งถ้าเป็นไปได้ก็จะออกกำลังกายมากขึ้นด้วยเช่นกัน อีกทั้งการรักษาด้วยวิธีนี้จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ หรือ นักกายภาพบำบัด เพราะจะต้องมีการค่อย ๆ ปรับเพิ่มโปรแกรมการบำบัดเป็นขั้นตอน 

สำหรับการปฏิบัติตัวที่ไม่เป็นผลเสียต่อร่างกาย ยังคงเป็นเรื่องที่ดี ที่คนรักสุขภาพต้องเคร่งครัด สำหรับใครที่มีภาวะหัวใจอ่อนแอ เป็นโรคหัวใจ ก็จะต้องเน้นย้ำในเรื่องพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างรอบคอบด้วยเช่นกัน ไม่เช่นนั้นแล้วอาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญการออกกำลังกาย ควรที่จะมีขอบเขต มีหลักการที่เหมาะกับคนที่มีภาวะหัวใจไม่แข็งแรง และที่สำคัญจะต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแบบถูกต้อง ถูกวิธี 


ออกกําลังกายบำรุงหัวใจ อย่างไร ช่วยให้หัวใจแข็งแรง

ออกกําลังกายบำรุงหัวใจ

เมื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราเกิดขึ้นในชีวิต จะส่งผลให้การทำงานของระบบร่างกาย ทำงานได้อย่างถูกต้อง การหันมาใส่ใจดูแลตัวเองก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะต้องทำ ดังนั้นแล้ว การ ออกกําลังกายบำรุงหัวใจ จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่จะช่วยให้ระบบการทำงานในร่างกายนั้นดีขึ้นเป็นปกติ แต่สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจ หรือ มีภาวะหัวใจที่อ่อนแอ ก็ยังคงเป็นกังวลว่าจะออกกำลังกายแบบไหนได้บ้าง ดังนั้นพวกเราจึงได้รวบรวม คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการออกกำลังกายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้มีภาวะโรคหัวใจ ซึ่งบอกเลยว่า การออกกำลังกายผู้ป่วยภาวะนี้ก็สามารถทำได้เช่นกัน ดังนั้นเราไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้กันได้กับ ข้อสรุปดังต่อไปนี้ 

ออกกําลังกายบำรุงหัวใจ เพื่อความแข็งแรง

เรื่องแรกที่จะต้องพูดถึงก็คือ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการออกกำลังกายว่า เพื่อให้หัวใจแข็งแรง ไม่ใช่การออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ซึ่งมีหลายคนเข้าใจว่าการออกกำลังกายคือการหักโหม เพื่อให้หัวใจเต้นแรง แต่ความจริงแล้ว การออกกำลังกายเพื่อหัวใจไม่จำเป็นต้องเล่นกีฬาประเภทหนัก เพียงแต่เป็นการออกกำลังกายเบา ๆ ให้ร่างกาย กล้ามเนื้อมัดใหญ่ทำงาน ซึ่งจะไม่ส่งผลเสียต่อหัวใจ อีกทั้งยังช่วยให้หัวใจแข็งแรงมากขึ้นด้วย 

แอโรบิก ช่วยให้หัวใจแข็งแรง 

การเต้นแอโรบิก จะช่วยให้หัวใจแข็งแรงได้จริงหรือ ? คงมีหลายคนสงสัย เพราะดูจากภายนอกเหมือนว่าการเต้นที่หนัก ๆ แบบนี้จะทำให้หัวใจเต้นเร็วซะมากกว่า แต่แท้จริงแล้วนั้น การออกกำลังกายโดยการแบบแอโรบิก จะช่วยให้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ทำงาน เลือดลมไหลเวียนดี ปอดทำงานดีขึ้น ซึ่งนี่คือเรื่องดี ๆ สำหรับคนที่มีภาวะหัวใจอ่อนแอให้หัวใจแข็งแรงขึ้นด้วยเช่นกัน 

ออกกำลังกายเบา ๆ ช่วยให้กล้ามเนื้อทำงาน

การออกกำลังกาย ไม่จำเป็นต้องหักโหม การออกกำลังกายเบา ๆ ให้กล้ามเนื้อ ร่างกาย ได้ขยับ ก็ถือได้ว่าเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง การเดินเร็ว วิ่งเหยาะ ปั่นจักรยาน ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ทำได้ง่าย ทำได้ทุกคน หรือ การออกกำลังกายเบา ๆ ที่บ้าน ก็ได้ ช่วยให้ร่างกายมีระบบเผาผลาญที่ดีขึ้น จิตใจลดความเครียด ดังนั้นแล้วควรหมั่นออกกำลังกายต่อเนื่องเช่นนี้ประมาณ 20-30 นาทีเท่านั้น ไม่ควรใช้เวลานานจนเกินไป 


เรียกได้ว่าเป็นข้อมูลที่ครบถ้วนเลยทีเดียว สำหรับ บทความนี้ ตั้งแต่การเรียนรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ ภาวะหัวใจอ่อนแอ ประเภทของโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่มีความสำคัญมากต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เพราะอวัยวะทั้งหมดในร่างกาย จะเริ่มรับเลือดจากหัวใจ ซึ่งเมื่อไหร่ที่หัวใจทำงานผิดปกติ ก็จะทำให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผิดปกติตามกันไปด้วย 

จะเห็นได้ว่าวิธีลดความเสี่ยง ออกกําลังกายบำรุงหัวใจ รวมทั้งข้อมูลการรักษาที่ช่วยให้หัวใจกลับมาแข็งแรงเช่นเดิมยังคงมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานยา การผ่าตัด เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้คุณยังคงใช้ชีวิตได้เหมือนปกติ แต่สิ่งที่จะต้องระวังก็ต้องมี แต่เชื่อเลยว่าเมื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตได้ หรือ หลีกเลี่ยงเรื่องที่เสี่ยงต่อการทำให้หัวใจอ่อนแอ ก็จะทำให้คุณเหมือนคนปกติทั่วไป สำหรับใครที่กำลังป่วยเป็นโรคหัวใจ หรือ มีภาวะนี้เช่นนี้เกิดขึ้น พวกเราก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านผ่านช่วงเวลาที่สำคัญนี้ไปให้ได้ ไม่ต้องวิตกกังวล ใช้ชีวิตได้ตามปกติ นี่แหละคือเรื่องราวของภาวะหัวใจอ่อนแอ กับ ประโยชน์ของการออกกำลังกายที่จะช่วยให้คุณห่างไกลโรคร้ายอื่น ๆ ได้อีกมากมาย 


อ้างอิง

ออกกำลังกายอย่างไร…ให้ “หัวใจ” แข็งแรง | https://www.paolohospital.com/th-TH/chokchai4/Article/Details/โรคหัวใจ/ออกกำลังกายอย่างไร…ให้–หัวใจ–แข็งแรง

โรคหัวใจ (Heart disease): สาเหตุ อาการและวิธีรักษา | https://www.medparkhospital.com/content/heart-disease

โรคหัวใจมีหลายประเภทที่คุณควรรู้ | https://www.bangkokhearthospital.com/content/heart-disease

Similar Posts