ปวดประจำเดือน

ถ้าให้พูดถึงผู้หญิงสักหนึ่งข้อที่ผู้ชายไม่มี เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึงเรื่องการมีประจำเดือน เพราะการมีประจำเดือนคือการที่ผู้หญิงคนนั้นไม่มีการตั้งครรภ์ ทำให้เลือดและเนื้อเยื่อหลุดออกมาจากเนื้อบุมดลูก ถือว่าเป็นเรื่องปกติของผู้หญิง ซึ่งการมีประจำเดือนแต่ละเดือน จะทำให้ระดับฮอร์โมนเพศหญิงนั้นเปลี่ยนแปลง บางคนอาจจะมีสาเหตุที่ทำให้ต้อง ปวดประจำเดือน บ่อยๆ 

การปวดประจำเดือน เป็นเรื่องที่ทรมานที่ผู้ชายยากที่จะเข้าใจ เพราะปวดแต่ละทีถึงกับต้องนอนพัก ไม่มีเรี่ยวแรง บางคนถึงกับต้องหยุดงาน หยุดเรียน แต่แอดบอกเลยว่าการปวดบ่อย ๆ ไม่ใช่ว่าจะดี เพราะมันมีสาเหตุและสัญญาณเตือนอันตรายให้กับตัวของสาว ๆ เอง อย่างนั้นเราไปดูกันว่าสาเหตุ และข้อควรระวังของสัญญาณเตือนให้เกิดโรค จะมีอะไรกันบ้าง


สาเหตุของอาการ ปวดประจำเดือน

ปวดประจำเดือน

สาเหตุของการปวดประจำเดือน มี 2 ประเภท

1. ปวดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary dysmenorrhea)

ปวดประจำเดือนปฐมภูมิ จะเป็นอาการปวดที่ไม่เกี่ยวกับการเป็นโรคใด ๆ แต่จะเป็นเกี่ยวกับสารตัวหนึ่งที่เรียกว่า “Prostaglandin” ซึ่งอย่างที่ทราบว่า ประจำเดือนจะหลั่งออกมาจากเนื้อบุมดลูก สารตัวนี้ก็เช่นกัน แต่จะทำให้มดลูกของสาว ๆเกิดการบีบตัว จึงทำให้เวลาก่อนที่ประจำเดือนจะมา 1-2 วัน หรือกำลังมาในช่วง 2-3 วันแรก เกิดอาการปวดท้องน้อย ปวดที่บริเวณหลังหรืออุ้งเชิงกราน หลายคนอาจจะคิดว่าตัวเอง ปวดท้องโรคกระเพาะ หรือบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ เวียนหัวได้ แม้กระทั่งเกิดอาการท้องเสีย สาว ๆ ท่านใดที่กังวลเวลาไปตรวจภายในแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติ เป็นเพราะการปวดประจำเดือนยังเป็นแค่แบบปฐมภูมิ 

2. ปวดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary dysmenorrhea) 

ปวดประจำเดือนทุติยภูมิ จะเป็นอาการปวดที่ขั้นรุนแรงมากกว่าแบบปฐมภูมิ เพราะมาจากสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ภายในมดลูก หรือรังไข่ของสาว ๆ นั่นเอง มักจะเกิดในช่วงอายุ 20-30 ปี วิธีสังเกตก่อนเข้าพบแพทย์ ดูว่ามีประจำเดือนที่มากจนเกินไป หรือบางเดือนเว้นระยะห่างไม่มาเลย อาการของการปวดที่รุนแรงถึงขั้นต้องฉีดยา หรือบางรายกับไม่มีสัญญาณเตือนของการปวด มีภาวะที่มีบุตรยาก หรือแม้ตอนมีเพศสัมพันธ์เกิดเจ็บบริเวณมดลูก ควรรับเข้าการปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติของร่างกาย


ปวดประจำเดือนเรื้อรัง เป็นสัญญาณเตือนของโรคใดบ้าง?

ปวดประจำเดือน

จากที่กล่าวไปข้างต้น การเกิดอาการปวดประจำเดือนอย่างรุนแรง หรือเรื้อรังเป็นเวลานานแบบทุติยภูมิ เป็นสัญญาณเตือนว่าเราควรเข้าพบแพทย์อย่างเร่งด่วน เพราะจะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ดังนี้

1. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือช็อกโกแลตซีสต์ เป็นภาวะที่เกิดจากเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกเกิดการทำงาน หรือไปเจริญนอกโพรงมดลูก ทำให้ส่งผลต่ออุ้งเชิงกรานเวลาที่ประจำเดือนมา จึงเกิดอาการปวดท้องที่รุนแรงตรงบริเวณท้องน้อย บางรายอาจส่งผลไปยังอวัยวะใกล้เคียง อาทิ รังไข่ ท่อนำไข่ หรือปอด

2. เนื้องอกมดลูก

เนื้องอกมดลูกไม่ใช่เป็นเนื้องอกร้าย ซึ่งการเกิดของโรค คือ กล้ามเนื้อมดลูก เกิดอาการโตหรือนูนเป็นการเติบโตช้า ๆ อาจมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นหรือเท่าเดิม หรืออาจจะเล็กลงได้ในช่วงที่เข้าวัยประจำเดือนหมด

3. ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ

ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ โรคนี้ส่วนใหญ่จะเกิดการติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ ทำให้บริเวณอวัยวะเพศหญิงเกิดการติดเชื้อ หากปล่อยไว้นานหรือรักษาไม่หายขาด จะทำให้เกิดการอักเสบและปวดท้องประจำเดือน อีกทั้งยังส่งผลต่อการมีบุตรยากภายหลังอีกด้วย

4. ภาวะปากมดลูกตีบ

ภาวะปากมดลูกตีบ เป็นความผิดปกติของปากมดลูกที่มีลักษณะเกิดการบีบตัวขึ้น ทำให้ช่องของปากมดลูกแคบจนเกินไป หรือเกิดการปิดสนิท ซึ่งทำให้เวลามีประจำเดือนของเหลวค้างอยู่ในโพรงมดลูกจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ปวดท้องอย่างรุนแรง

5. มะเร็งมดลูก

มะเร็งมดลูก เกิดจากสาเหตุขาดประจำเดือนเป็นเวลานาน ไม่ควรปล่อยให้ประจำเดือนขาด 2-3 เดือนควรรีบเข้าปรึกษาแพทย์ เพราะการขาดประจำเดือนจะทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมดลูกอย่างมาก


ปวดประจำเดือน อย่างไรถือว่าผิดปกติ

ปวดประจำเดือน

สิ่งหนึ่งที่สาว ๆ ไม่ควรละเลยนั้นก็คือ เรื่องสุขภาพ ซึ่งการปวดประจำเดือนเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ต้องหมั่นดูแลตัวเอง และสังเกตพฤติกรรมแต่ละเดือนว่าเป็นอย่างไร มีอาการปวดมากน้อยเพียงใด ถ้าหากปวดไม่มาก ควรเลี่ยงการรับประทานยา แต่อาจจะใช้การประคบร้อนตรงบริเวณท้องน้อย อาบน้ำอุ่น พักผ่อนให้เพียงพอ หรือออกกำลังกายเบา ๆ แทน แต่ถ้าอยากทานยาต้านการอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs) ควรรับประทานเมื่อมีอาการปวดรุนแรงเท่านั้น

แต่ถ้าหากได้รับประทานยาเข้าไปแล้วยังมีอาการปวดที่รุนแรงอยู่ หรือมีอาการเหล่านี้ อาทิ เข้าวัย 25 ปีแล้ว เกิดการปวดท้องประจำเดือนเป็นครั้งแรก ปวดท้องที่มากขึ้นเรื่อย ๆ มีไข้พร้อมเป็นประจำเดือน เกิดภาวะที่ปวดท้องน้อยขึ้นมา แต่ไม่มีประจำเดือน เลือดประจำเดือนหลั่งออกมามากกว่าปกติ มีกลิ่นเหม็นตกขาว เกิดอาการคันบริเวณปากช่องคลอด ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เสี่ยงเกิดโรคตามมาภายหลัง


หากเข้าข่ายผิดปกติควรทำอย่างไร

สำหรับสาว ๆ ที่กำลังอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คิดว่าเราเข้าข่ายความผิดปกติขณะที่มีประจำเดือน หรือเกิดภาวะที่ขาดประจำเดือนไป ใครที่คิดมากว่าเราอยู่ในภาวะที่แอดได้กล่าวมาจากข้างต้น ควรรีบเข้าพบแพทย์ เพื่อที่จะได้ปรึกษาและทำการตรวจภายในหรืออัลตราซาวด์ได้ทันท่วงที เพราะถ้าหากปล่อยไว้จะเกิดผลในระยะยาวได้

ถึงแม้ว่าการปวดประจำเดือนที่ไม่มากนัก หรือปวดจนเคยชินแล้ว คิดว่าปวดไม่กี่วันเดี๋ยวก็ดีขึ้นเดี๋ยวก็หายไปเอง บอกเลยว่าใครกำลังคิดแบบนี้ กำลังทำให้ร่างกายของตัวเองเริ่มเข้าสู่สภาวะของการเกิดโรคได้ง่าย ๆ เพราะการปวดประจำเดือนเป็นสัญญาณบ่งบอกแล้วว่าโพรงมดลูกของเราเริ่มที่จะมีปัญหาแล้ว อย่างไรก็ตาม ไม่ควรปล่อยละเลยกับปัญหาเหล่านี้


อ้างอิง

Similar Posts