โรคกระดูกพรุน

ปัจจุบัน โรคกระดูกพรุน นับว่าเป็นปัญหาอย่างมาก จัดว่าเป็นภัยเงียบอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้เพราะว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ จะไม่มีอาการใดแสดงออกมาเลยจนกว่าจะมีการล้มเพียงเล็กน้อยแล้วกระดูกหัก สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ส่วนหนึ่งมาจากการสูญเสียมวลกระดูกทำให้กระดูกเปราะบางรับน้ำหนักได้น้อย ความแข็งแรงของกระดูกลดลง กระดูกเปราะ หักง่าย

บางคนอาจจะตัวเตี้ยลงได้หรือปวดหลังหลังจากล้มหรือมีการขนของหนัก ๆ สิ่งที่น่าเป็นกังวลอย่างมากของผู้ที่ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน คือ ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะกระดูกหักได้ง่ายกว่าคนปกติอย่างมาก เพียงแค่มีการกระแทกเบา ๆ การบิดตัวอย่างกะทันหัน ลื่นล้ม ไอ หรือจาม ก็อาจจะทำให้กระดูกหักได้เลย


โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนคืออะไร?

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ โรคที่เกิดจากการสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก จนทำให้กระดูกเริ่มเสื่อมตัวลง ส่งผลทำให้กระดูกเปราะและบางลง โรคนี้จะไม่มีการแสดงอาการใด ๆ แม้กระทั่งความเจ็บปวดก็ไม่มี จนกว่าจะเกิดอุบัติเหตุเพียงแม้เล็กน้อยแล้วกระดูกเกิดหักได้ง่าย โรคกระดูกพรุนสามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่ในส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุมากกว่า แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ไม่ควรละเลยความใส่ใจในเรื่องของกระดูก ดังนั้น การที่เราได้รู้ถึงสาเหตุ ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงเกิดเป็นโรคกระดูกพรุน เราจะสามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคนี้ได้


โรคกระดูกพรุน

สาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน

  • เพศ ผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนเร็วและมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะเมื่อตอนที่ประจำเดือนหมดไปแล้ว หรือได้รับการผ่าตัดที่รังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง จะทำให้เกิดการสลายของกระดูกที่เพิ่มมากขึ้น เพราะขาดฮอร์โมนเพศ ทำให้เริ่มเกิดการสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ผู้หญิงมีโอกาสกระดูกหักได้ถึงร้อยละ 40 – 50 เลย
  • อายุ เมื่ออายุประมาณ 30 ปี คนเราจะมีมวลกระดูกที่หนาแน่นและแข็งแรงมากที่สุด และหลังจากนั้นจะค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ
    • ผู้หญิงที่มีอายุเกิน 60 ปี มีโอกาสที่จะเกิดโรคกระดูกพรุนร้อยละ 10
    • ผู้หญิงที่มีอายุเกิน 70 ปี มีโอกาสที่จะเกิดโรคกระดูกพรุนร้อยละ 20
    • ผู้หญิงที่มีอายุเกิน 80 ปี มีโอกาสที่จะเกิดโรคกระดูกพรุนร้อยละ 40
  • กรรมพันธุ์ กรรมพันธุ์ของคนในครอบครัว พ่อหรือแม่ที่เป็นโรคกระดูกพรุนแล้วกระดูกเกิดหัก ลูกก็จะมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนเช่นกันด้วย
  • เชื้อชาติ ชาวต่างชาติที่มีผิวสีขาวและคนเอเชียมีโอกาสที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนอยู่สูง
  • ยา การได้รับยาหรือรับประทานบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้มวลกระดูกบางลง เช่น กลุ่มยาสเตียรอยด์ในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์รับประทาน, ผู้ป่วยโรคพุ่มพวง(SLE) ยาทดแทนธัยรอยด์ ยาป้องกันการเกิดอาการชัก เป็นต้น
  • ผู้ที่เคยกระดูกหัก โอกาสที่จะเกิดกระดูกหักซ้ำมีเพิ่มสูงขึ้นถึง 2.5 เท่า
  • แอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหล้า เบียร์ หรือแม้แต่ไวน์ในปริมาณที่มากกว่า 3 แก้วต่อวัน จะทำให้มีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนได้เร็วขึ้น
  • บุหรี่ สารพิษที่มาจากนิโคตินจะเป็นตัวทำลายเซลล์ที่มีหน้าที่สร้างมวลกระดูกที่ทำให้กระดูกบางลง ถ้าเกิดสูบบุหรี่มากกว่า 20 มวนต่อวัน จะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้กระดูกสะโพกหักสูงขึ้น 1.5 เท่าของคนไม่สูบบุหรี่
  • กลุ่มคนที่ผอมเกินไป คนที่ผอมจนเกินไปจะมีโอกาสที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่า และยังมีความเสี่ยงที่กระดูกจะหักเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าของคนที่มีรูปร่างปกติ
  • การขาดสารอาหาร การไม่ได้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ นอกจากทำให้ร่างกายผอมปกติแล้วยังอาจเกิดภาวะขาดสารอาหาร ที่จะนำไปใช้ในการสร้างมวลกระดูก โดยเฉพาะแคลเซียม วิตามินดี และโปรตีน
  • ขาดการออกกำลังกาย คนที่ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะมีโอกาสที่เป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าคนที่ออกกำลังกาย และพบว่าผู้หญิงที่นั่งนาน ๆ มากกว่า 9 ชั่วโมงต่อวัน จะมีโอกาสเสี่ยงสูงที่กระดูกสะโพกจะหักมากกว่าผู้หญิงที่นั่งน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันถึงร้อยละ 50 เลย
  • การรับประทานอาหาร ถ้าได้รับประทานเกลือมากกว่า 1 ช้อนชาต่อวัน ชา กาแฟมากกว่า 3 แก้วต่อวัน น้ำอัดลมมากกว่า 4 กระป๋องต่อสัปดาห์ และรับประทานโปรตีนมากกว่า 10 – 15% ในแต่ละมื้อของอาหาร จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนสูง เพราะว่าอาหารและเครื่องดื่มที่กล่าวมานี้จะไปขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม ส่วนอาหารที่มีรสเค็มจัดและคาเฟอีนยังจะไปทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกมากขึ้นอีกด้วย

โรคกระดูกพรุน

ควรเริ่มตรวจมวลกระดูกตอนไหน?

Bone Mineral Density (BMD) หรือการตรวจมวลกระดูกด้วยเครื่องมือรังสีชนิดพิเศษนี้ เป็นเครื่องที่สามารถตรวจมวลกระดูกได้ทุกส่วนในร่างกายของมนุษย์ โดยปกติแล้วหากไม่มีอาการผิดปกติอะไร การตรวจก็สามารถตรวจได้เมื่อตอนที่อายุ 60 ปี แต่ถ้าหากในส่วนผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงอย่างเช่น เคยได้รับอุบัติเหตุจนกระทั่งกระดูกหักมาก่อนหรือคนในครอบครัวมีภาวะกระดูกพรุนหรือรับประทานยาสเตอรอยด์เป็นประจำกลุ่มคนเหล่านี้ควรจะไปพบแพทย์เพื่อขอตรวจมวลกระดูกให้เร็วขึ้น


โรคกระดูกพรุน

วิธีการป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน

การป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุนไม่ใช่เรื่องของผู้สูงอายุเพียงอย่างเดียว หากป้องกันตั้งแต่ยังเด็กก็จะดีมาก จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคกระดูกพรุนในอนาคต ผู้หญิงวัยทองควรจะดูแลระวังตัวเองให้มากกว่าปกติ ลดความเครียด กินอาหารที่มีแคลเซียมสูง อย่างเช่น ผักใบเขียว ถั่วแดง กุ้งแห้ง ซึ่งเป็นสารประกอบหลักในการสร้างมวลกระดูกและควรออกกำลังกายอย่างน้อยอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง ซึ่งจะช่วยชะลอการสลายของแคลเซียมได้อีกด้วย อีกทั้งควรจะงดสูบบุหรี่หรืองดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และควรออกกำลังกายเบา ๆ ที่บ้าน ระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจนกระดูกหัก


โรคกระดูกพรุน

คอลลาเจน

คอลลาเจน (Collagen) คือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่มีส่วนประกอบไปด้วยกรดอะมิโน ต่อกันเป็นเส้นใยยาว ๆ พบได้ในร่างกายถึง 30-40% มีความสำคัญมากต่อเซลล์ในร่างกาย ของมนุษย์ ซึ่งถ้าหากขาดคอลลาเจนไปเซลล์ในร่างกายจะไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างสมบูรณ์

เรามักจะได้ยินอยู่บ่อย ๆ ว่า “ถ้าอยากจะให้ผิวขาวสวย เนียน เด้ง จะต้องรับประทานคอลลาเจน”  และแพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเสื่อมรับประทานคอลลาเจน เพราะเป็นหนึ่งในสุดยอดอาหารบำรุงกระดูกสามารถช่วยรักษาและบรรเทาอาการข้อเสื่อมได้เช่นกัน แต่ถ้าหากเราอยากจะรับประทานคอลลาเจนเพื่อช่วยในเรื่องต่าง ๆ ควรเลือกทานคอลลาเจนให้ถูกชนิด เพราะคอลลาเจนมี 2 ชนิดและทั้งสองคอลลาเจนนี้ได้มาจากคอลลาเจนที่ต่างชนิดกัน ซึ่งมีความต่างกันดังนี้

  • collagen peptide สำหรับผิว คอลลาเจนชนิดนี้ส่วนมากจะพบในผิวกว่า 90% และยังสามารถพบได้ในเส้นเอ็น หลอดเลือด และยังเป็นคอลลาเจนชนิดที่พบมากที่สุดในร่างกายของมนุษย์อีกด้วย คอลลาเจนชนิดนี้มีความสำคัญในเรื่องของการเพิ่มความยืดหยุ่น ช่วยในการป้องกันเนื้อเยื่อไม่ให้เกิดความเสียหายหรือฉีกขาด และสมานแผลบนผิวหนังได้ดี ทำให้ผิวของผู้ที่มีคอลลาเจนมากเพียงพอจึงมีผิวที่สวย เนียน และไร้ริ้วรอย
  • คอลลาเจนสำหรับข้อ คอลลาเจนชนิดนี้จะพบมากในข้อกระดูกอ่อน และทำหน้าที่แตกต่างออกไปจากคอลลาเจนสำหรับผิวอย่างเห็นได้ชัด โดยคอลลาเจนชนิดนี้จะช่วยไปกระตุ้นทำให้เซลล์เกิดการสังเคราะห์และส่งผลทำให้มีจำนวนของเซลล์มากขึ้น ดังนั้นคอลลาเจนชนิดนี้จึงเหมาะที่จะนำไปช่วยในการสร้างกระดูกอ่อนและช่วยซ่อมแซมในส่วนที่สึกหรอบริเวณข้อต่อได้ดี

คอลลาเจนมีมากมายหลายแบรนด์ในท้องตลาด วิธีเลือกกินคอลลาเจนควรเน้นที่มีผลการวิจัยโดยเฉพาะ ซึ่งจะสร้างความมั่นใจในผลลัพธ์ที่ได้มากยิ่งขึ้น หากมีความกังวลเรื่องของผิวพรรณควรเลือกชนิดที่เป็นคอลลาเจนสำหรับผิว แต่ถ้าหากมีความกังวลในเรื่องของกระดูกและข้อเสื่อม แนะนำให้เลือกเป็นคอลลาเจนชนิดสำหรับข้อ


จะเห็นได้ว่าโรคกระดูกพรุนนั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวและอันตรายกว่าที่เราคิดเอาไว้มาก ซึ่งเราควรใส่ใจและดูแลสุขภาพ ต่อให้โรคกระดูกพรุนจะอันตรายแต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงโรคนี้ได้ เพียงแต่ต้องศึกษาและเข้าใจถึงสาเหตุของโรคกระดูกพรุน จึงจะรู้วิธีการป้องกันและการดูแลรักษาที่ถูกวิธี เพื่อให้เราลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหรือลดความรุนแรงลงได้ เราจะได้มีสุขภาพที่ดีและใช้ชีวิตอย่างมีความสุข


อ้างอิง

Similar Posts